Critical Thinking คือหนึ่งใน Future Skills ที่มีความสำคัญอย่างมากในการดำเนินชีวิตในโลกดิจิทัล เพราะเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านทั้งสังคม เศรษฐกิจ การบริการและการผลิตสินค้า เทคโนโลยีแทรกซึมเข้ามาจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของมนุษย์ มีข้อมูลปริมาณมหาศาลรอบตัว ซึ่งเราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดายผ่านทางโลกออนไลน์ อินเทอร์เน็ตและเครื่องมือดิจิทัลทำให้มนุษย์ใกล้ชิดกันมากขึ้น การติดต่อสื่อสารทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เมื่อข้อมูลและเรื่องราวต่าง ๆ หลั่งไหลเข้ามาหาเราได้อย่างง่ายดาย การมีทักษะการคิดวิพากษ์จึงถือเป็นทักษะที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง SOLUTIONS IMPACT จะพาไปทำความเข้าใจว่า การคิดเชิงวิพากษ์ คืออะไร Critical Thinking หมายถึงทักษะด้านใด และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

Critical Thinking คืออะไร

Critical Thinking แปลว่า การคิดวิพากษ์ โดย Critical Thinking Skills คือ ทักษะในการคิด วิเคราะห์ ประเมิน ตัดสินใจ แยกแยะข้อมูล โดยใช้หลักการของเหตุและผลที่เหมาะสมกับสถานการณ์ สามารถสังเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูลและชุดข้อมูลต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ตัดสินใจ หลงเชื่อ หรือคล้อยตามในทันที คัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่มีประโยชน์ และตัดข้อมูลที่ไม่มีความเกี่ยวข้องออกไป จนได้คำตอบหรือผลลัพธ์ที่ดีและถูกต้องที่สุด สามารถวางแผนการแก้ไขปัญหาได้อย่างชาญฉลาด รวมไปถึงการคิดหาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแก้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคยด้วยวิธีการที่หลากหลาย

กระบวนการคิดวิพากษ์มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

กระบวนการของ Critical Thinking คือ กระบวนการที่ทำให้เกิดการคิดวิพากษ์อย่างเป็นขั้นเป็นตอนเริ่มตั้งแต่การระบุประเด็นปัญหาไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล การคิดวิพากษ์เป็นทักษะที่ต้องมีการฝึกฝน เรียนรู้ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการฝึกการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอนโดยมีกระบวนการคิดวิพากษ์ มีดังนี้

การระบุปัญหา 

ขั้นตอนแรกของกระบวนการ Critical Thinking คือ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา คำถาม ข้ออ้างหรือข้อโต้แย้ง การตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการพิจารณาข้อมูลหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อกำหนดข้อสงสัยหรือคำถามที่ต้องการหาคำตอบ

การรวบรวมและเลือกข้อมูล 

เมื่อมีการตั้งคำถามแล้วจึงทำการข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นการสังเกต การพูดคุย การศึกษา การอ่าน การสังเกตพฤติกรรม รวมทั้งข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา

การพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูล 

เป็นการพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลว่าได้มาจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ตัดเอาข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์และมาจากแหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือออก การพิจารณาคัดเลือกข้อมูลที่จำเป็นและไม่จำเป็น เนื่องจาก การนำเอาข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องและไม่มีประโยชน์ จะนำไปสู่การสรุปผลและการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาถึงจำนวนข้อมูลด้วยว่ามีความถูกต้องและเพียงพอที่จะนำไปสู่การสรุปผลหรือไม่

การตั้งสมมติฐาน 

นำเอาข้อมูลที่มีการจัดระบบข้อมูลเรียบร้อยแล้วมาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงของข้อมูล กำหนดแนวทางและวิธีสรุปผลที่มีความเป็นไปได้ เลือกสมมุติฐานที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด

การสรุปผล 

เป็นการสรุปผลโดยอาศัยหลักการของเหตุและผลในเชิงตรรกศาสตร์ โดยพิจารณาทั้งเหตุผลในเชิงอุปนัยและนิรนัย พิจารณาเลือกแนวทางที่ดีที่สุดจากข้อมูลที่มีอยู่ 

ประเมินผลการสรุป

เป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยความสามารถในการวิเคราะห์และประเมิน เพื่อหาความสมเหตุสมผลของข้อสรุปว่ามีความน่าเชื่อถือ มีความถูกต้องหรือไม่ รวมทั้งประเมินว่าสามารถนำเอาข้อสรุปนั้นไปใช้ประโยชน์หรือใช้ประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้หรือไม่ มีคุณค่าเพียงพอหรือไม่

ประโยชน์ของการคิดวิพากษ์มีอะไรบ้าง

ผู้ที่มีทักษะการคิดวิพากษ์หรือผ่านการ Training ตามหลักสูตร Critical Thinking จะส่งผลดีทั้งต่อตนเองและองค์กร โดยการคิดวิพากษ์ก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้

ช่วยสืบค้นความจริง 

ช่วยให้สามารถวิเคราะห์หาความจริงจากข้อมูลที่ได้รับมาโดยไม่คล้อยตาม หรือหลงเชื่ออย่างง่ายดาย แต่จะทำการตั้งคำถามต่อข้อมูลที่ได้รับมาหรือต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนนำไปสู่การวิเคราะห์ แยกแยะ โดยใช้หลักการเหตุและผล จนนำไปสู่ข้อสรุปที่ถูกต้องที่สุด ทำให้สามารถตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ ลดโอกาสในการเกิดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ถูกล่อลวงจากข้อมูลที่บิดเบือนจากความเป็นจริง

สามารถแยกแยะความต่างในความเหมือนได้ 

บางครั้งการที่เรามีการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นประจำเหมือนเดิมทุกวัน จนเกิดความเคยชิน เรามักจะคิดว่าสถานการณ์เป็นเหมือนกันในทุก ๆ วัน การคิดวิพากษ์จะช่วยให้เราสามารถสังเกตความแตกต่างท่ามกลางความเหมือนได้ เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วไม่มีเหตุการณ์ใดที่จะเหมือนกันได้ทั้งหมด จึงไม่สามารถใช้ข้อสรุปเดียวกันกับสำหรับทุกสถานการณ์ได้ การคิดวิพากษ์จะช่วยให้เราสามารถแยกแยะความแตกต่างในความเหมือนได้ ช่วยให้สามารถตรวจสอบได้ว่าสิ่งที่พบเจอหรือคิดอยู่นั้น ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่

ช่วยให้ตัดสินตามข้อเท็จจริง 

การคิดวิพากษ์ช่วยให้เราตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ตามความเป็นจริงด้วยหลักการของเหตุและผล ไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึก การตัดสินใจบางเรื่องโดยไม่มีเหตุผลและหลักฐานที่เหมาะสมมายืนยันสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือสนับสนุนข้อคำถาม การสรุปผลโดยไม่มีการคิดวิพากษ์ การสรุปโดยมีอคติ ไม่ได้สืบหาความจริงอย่างรอบคอบและยุติธรรม ฟังความเพียงด้านเดียว จะทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดและส่งผลเสียหายหลายอย่างตามมา

ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ 

เพราะความคิดวิพากษ์มักเริ่มต้นด้วยความสงสัยและการตั้งคำถาม การไม่ปักใจเชื่อในสิ่งเดิม ๆ วิถีปฏิบัติและแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบเดิมที่ไม่เหมาะสมกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในการค้นหาไอเดียใหม่ๆ แนวทางใหม่ๆ ความคิดใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิม ช่วยให้การปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพดีมากยิ่งขึ้น 

ลักษณะของผู้ที่มีทักษะการคิดวิพากษ์ 

ลักษณะนิสัย Critical Thinking คือ ความรู้สึกและลักษณะนิสัยที่แต่ละบุคคลนำมาใช้ในกระบวนการใช้ความคิด เช่น การแสวงหาความรู้ การเปิดใจกว้าง รวมทั้งมีทัศนคติและความเต็มใจที่จะใช้ความคิด มีแรงจูงใจในการนำเอาทักษะการคิดวิพากษ์ไปใช้ประโยชน์ โดยลักษณะนิสัยคิดวิพากษ์ มีดังนี้

  1. มีความมั่นใจในตนเอง พร้อมเผชิญต่อปัญหาต่าง ๆ และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. มีความสามารถตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมโดยใช้หลักการของเหตุและผล
  3. มีบุคลิกภาพที่ดี เป็นคนสุขุม ละเอียดรอบคอบ ไม่ด่วนตัดสินใจ ต้องมีข้อมูลหลักฐานประกอบ และมีการวิเคราะห์หาข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลก่อนการตัดสินใจ 
  4. ประสบความสำเร็จในการทำงาน สามารถดำเนินงานต่าง ๆ ด้วยความเรียบร้อยและประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลงานที่มีคุณภาพ
  5. มีทักษะการสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี สามารถในการสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  6. เป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉียบแหลม มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆของตนเองรวมทั้งช่วยพัฒนาทักษะให้เพื่อนร่วมงานได้อย่างต่อเนื่อง มีความรู้เท่าทันสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงของโลก และสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
  7. เป็นคนที่มีความรับผิดชอบและมีระเบียบวินัย
  8. เปิดใจกว้าง พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น แม้ว่าจะต่างจากความคิดของตน และพร้อมเปลี่ยนแปลงความคิดเมื่อมีหลักฐานยืนยันว่าสิ่งที่ตนเองคิดนั้นไม่ถูกต้อง

จะเห็นได้ว่า การมีทักษะการคิดวิพากษ์ส่งผลดีทั้งตนเองและองค์กร ช่วยให้เรามองสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยใจเป็นกลาง ปราศจากอคติ ไม่ตัดสินใจเชื่อในสิ่งที่เห็นในทันที แต่ต้องมีการตั้งคำถาม เพื่อนำไปสู่การรวบรวมข้อมูล การแสวงหาความรู้ข้อเท็จจริงและหลักฐานต่าง ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือมายืนยัน มีการตั้งสมมุติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยหลักการของเหตุและผล เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับมาก่อน ส่งผลให้เราไม่ถูกหลอกได้ง่าย ช่วยตัดสินใจในทางที่ถูกต้อง มีความคิดสร้างสรรค์ และพร้อมจะยอมรับสิ่งใหม่หากพิจารณาแล้วว่าก่อให้เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่า ดังนั้น การคิดวิพากษ์ จึงเป็นหนึ่งในตัวอย่างหัวข้อการฝึกอบรมพนักงานหรือการฝึกอบรมภายในองค์กรที่มีความน่าสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรและเพิ่มศักยภาพนการทำงานของพนักงานภายในองค์กร

อย่างไรก็ตาม Critical Thinking คือ ทักษะที่ไม่ได้มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด เป็นทักษะที่ต้องมีการเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจึงจะสามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องมากที่สุด องค์กรที่ต้องการพัฒนาทักษะการคิดวิพากษ์สามารถเข้ามาปรึกษาเราก่อนได้ เพราะเราเป็นสถาบันจัดฝึกอบรมที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 มีหลักสูตรการอบรมพนักงาน (Inhouse Training) หลากหลายเหมาะกับทุกองค์กรธุรกิจ สามารถพัฒนาและออกแบบหลักสูตรได้ตามความต้องการ บรรยายให้ความรู้โดยวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Critical Thinking คือ

Critical Thinking คืออะไร

Critical Thinking Skills คือ ทักษะในการคิด วิเคราะห์ ประเมิน ตัดสินใจ แยกแยะข้อมูล โดยใช้หลักการของเหตุและผลที่เหมาะสมกับสถานการณ์ สามารถสังเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูลและชุดข้อมูลต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ตัดสินใจ หลงเชื่อ หรือคล้อยตามในทันที คัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่มีประโยชน์ และตัดข้อมูลที่ไม่มีความเกี่ยวข้องออกไป จนได้คำตอบหรือผลลัพธ์ที่ดีและถูกต้องที่สุด สามารถวางแผนการแก้ไขปัญหาได้อย่างชาญฉลาด รวมไปถึงการคิดหาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการหรือเทคโนโลยีใหม่ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแก้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคยด้วยวิธีการที่หลากหลาย

กระบวนการของ Critical Thinking คือ

กระบวนการ Critical Thinking คือการทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา ข้อคำถาม ข้ออ้างหรือข้อโต้แย้ง การตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการพิจารณาข้อมูลหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อกำหนดข้อสงสัยหรือคำถามที่ต้องการหาคำตอบ โดยมีกระบวนการดังนี้
1.การระบุปัญหา 
2.การรวบรวมและเลือกข้อมูล 
3.การพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูล 
4.การตั้งสมมุติฐาน 
5.การสรุปผล 
6.ประเมินผลการสรุป

Critical Thinking มีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร

ผู้ที่มีการฝึกฝนCritical Thinking Skills จะส่งผลดีต่อทั้งตนเองและองค์กร โดยมีประโยชน์ดังนี้
1.สามารถวิเคราะห์หาความจริงจากข้อมูลที่ได้รับมา โดยไม่คล้อยตาม หรือหลงเชื่ออย่างง่ายดาย มีการวิเคราะห์ แยกแยะ โดยใช้หลักการเหตุและผล จนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องที่สุด ลดโอกาสในการเกิดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ถูกล่อลวงจากข้อมูลที่บิดเบือนจากความเป็นจริง
2.ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีการคิดหาไอเดียใหม่ๆ แนวทางการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ไอเดียใหม่ๆ ค้นหาแนวทางใหม่และวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับบริบทแวดล้อมมากกว่าเดิม 3.ช่วยให้การปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพดีมากยิ่งขึ้น 
4.แก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น ออกแบบและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 
5.ช่วยให้ตัดสินใจตามข้อเท็จจริง ไม่ใช้อารมณ์ และความรู้สึกส่วนตัว