เมื่อโลกมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนจากยุค analog ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของมนุษย์ทั้งในการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงาน จึงเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่ต้องมีการปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง โดยการพัฒนาทักษะดิจิทัล ก้าวสู่พลเมืองในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้รู้เท่าทันเทคโนโลยี นำมาใช้ประโยชน์ และป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม แล้วทักษะดิจิทัลคืออะไร ทักษะดิจิทัล มีอะไรบ้าง มาหาคำตอบผ่านบทความนี้ได้เลย

ทักษะดิจิทัลคืออะไร Digital Skills มีอะไรบ้าง 

ทักษะดิจิทัลคืออะไร

ทักษะดิจิทัล (digital skill) หมายถึง ทักษะในการใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก สมารท์โฟน โปรแกรมคอมพิวเตอร์  แอปพลิเคชัน สื่อออนไลน์ต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนากระบวนการทำงานให้มีความมันสมัยและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีดิจิทัลครอบคลุมความสามารถ 4 มิติ ได้แก่

  1. การใช้ (Use) หมายถึง ความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็น ทักษะและความสามารถในการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต โดยความสามารถในการใช้งานนี้ครอบคลุมตั้งแต่เทคนิคการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ,  web browser, อีเมล และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ ไปจนถึงเทคนิคขั้นสูงในการใช้งานสามารถในที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล หรือ เสิร์ชเอนจิน (Search Engine) และฐานข้อมูลออนไลน์ รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ เช่น Cloud Computing และ Internet of Things (IoT)
  2. ความเข้าใจ (Understand) หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจบริบทและประเมินสื่อดิจิทัล เพื่อให้เข้าใจและตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่ค้นพบทางอินเทอร์เน็ต เป็นทักษะแรกที่มีความสำคัญและจำเป็นต้องฝึกฝนเมื่อเข้าสู่โลกออนไลน์ ความเข้าใจยังรวมไปถึงการตระหนักว่าเทคโนโลยีเครื่อข่ายส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม มุมมอง ความเชื่อ ความรู้สึกเกี่ยวกับโลกรอบตัวอย่างไร 
  3. สร้าง (create) คือความสามารถในการผลิตเนื้อหาและสิ่อสารอย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครื่องมือดิจิทัล การสร้างเนื้อหาด้วยสื่อดิจิทัลไม่เพียงแค่รู้วิธีการใช้โปรแกรมประมวล ผลคำหรือการเขียนอีเมล แต่ยังรวมถึงความสามารถในการสร้าง และดัดแปลงเนื้อหาโดยใช้สื่อดิจิทัลให้เหมาะสมกับผู้ชมที่มีความหลากหลาย เช่น ภาพ วิดีโอ และเสียง ตลอดจนความสามารถในการมีส่วนร่วมกับ Web 2.0 อย่างมีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบ เช่น การเขียน Blog การแชร์ภาพหรือวิดีโอ รวมถึงการใช้ Social Media รูปแบบต่างๆ
  4. การเข้าถึง (Access) หมายถึงการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลข่าวสาร สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยช่องทางง่ายๆ รู้ถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละช่องทาง เพื่อให้สามารถใช้ Search Engine ในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่พบบนโลกออนไลน์ มีความให้เข้าใจและตระหนักว่าเทคโนโลยีเครือข่ายมีผลกระทบต่อพฤติกรรม มุมมอง ความเชื่อ ความรู้สึกเกี่ยวกับโลกรอบตัวอย่างไร สามารถค้นหา ประเมิน และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการติดต่อสื่อสาร ประสานงานร่วมมือ และแก้ไขปัญหา
  5. สร้าง (Create) หมายถึง ความสามารถในการผลิตเนื้อหาและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครื่องมือดิจิทัลที่หลากหลาย สามารถดัดแปลงสิ่งที่ผลิตขึ้นมาให้เหมาะสมสำหรับกับบริบทและผู้ชมที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ภาพ วิดีโอ และเสียง ตลอดจนความสามารถในการมีส่วนร่วมกับ Web 2.0 อย่างมีประสิทธิภาพและรับผิดชอบ เช่น Blog การแชร์ภาพและวิดีโอ และ Social media รูปแบบอื่นๆ รวมไปถึง การสร้างเนื้อหาที่มีความถูกต้องและสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงจริยธรรมการปฏิบัติทางสังคมและการสะท้อนสิ่งที่ฝังอยู่ในการเรียนรู้
  6. เข้าถึง (Access) หมายถึง การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล และข้อมูลข่าวสาร มีความเข้าใจและสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางช่องทางต่าง ๆ รวมถึงเข้าใจถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละช่องทาง เพื่อให้สามารถใช้ Search Engine ค้นหาข้อมูลที่ต้องการจากอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจสื่อดิจิทัลชนิดต่าง ๆ รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานด้วย

Digital Skills มีอะไรบ้าง ที่น่าสนใจ

ทักษะดิจิทัลกับวิถีชีวิตใหม่ ถือเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการยกระดับคุณภาพบุคลากรภายในองค์กรให้มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน โดยทักษะดิจิทัลที่จำเป็นมีอะไรบ้าง มีกี่ด้าน ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามควรมีทักษะดิจิทัลที่เหมาะสมดังต่อไปนี้

ทักษะดิจิทัล 9 ด้าน  ประกอบไปด้วย

  1. ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์

มีความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เริ่มตั้งแต่การเปิดเครื่องไปจนถึงการใช้งานระบบปฏิบัติการต่างๆ การจัดการข้อมูล การสำรองข้อมูล เป็นต้น

  1. การใช้งานอินเทอร์เน็ต

มีความสามารถในการใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ เพื่อสืบค้นข้อมูล การใช้งานอีเมล การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

  1. การใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย 

มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามต่างๆ บนโลกออนไลน์ การป้องกันมัลแวร์ รู้จักวิธีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกวิธีและปลอดภัย

  1. การใช้โปรแกรมประมวลคำ 

สามารถใช้งานโปรแกรมประมวลผลคำในการจัดการงานเอกสาร เช่น การจัดการข้อความ การแทรกวัตถุลงบนงานเอกสาร การจัดรูปแบบเอกสาร การพิมพ์เอกสาร รวมทั้งการตรวจทานงานเอกสาร

  1. การใช้โปรแกรมตารางคำนวณ 

สามารถใช้งานโปรแกรมโปรแกรมตารางคำนวณได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการตารางคำนวณ ปรับแต่งข้อมูลในแผ่นงาน การสั่งพิมพ์แผ่นงาน ใช้สูตรฟังก์ชันเพื่อการคำนวณ แทรกรูปภาพลงบนแผ่นงาน รวมทั้งการป้องกันแผ่นงาน

  1. การใช้โปรแกรมนำเสนอผลงาน 

สามารถใช้งานโปรแกรมโปรแกรมในการสร้างสรรค์งานนำเสนอให้มีความน่าสนใจ เช่น การทำข้อความ แทรกวัตถุ ภาพ วีดีโอ ลิงก์ข้อมูล ลงบนงานนำเสนอ กำหนดการเคลื่อนไหว ตกแต่งงานนำเสนอ เป็นต้น

  1. การใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล 

มีความสามารถการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการทำงาน เช่น การถ่ายภาพและการใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ การใช้โปรแกรมตัดต่อภาพเคลื่อนไหว การสร้างคลิปหรือวีดีโอ

  1. การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ 

มีความสามารถใช้งานโปรแกรมช่วยทำงานแบบออนไลน์ พื้นที่แบ่งปันข้อมูลออนไลน์ โปรแกรมแบ่งปันหน้าจอ และโปรแกรมการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ

  1. การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย  

มีความสามารถและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัย ปฏิบัติตามหลักเพื่อรักษาความปลอดภัย ใช้งานเว็บเบราว์เซอร์อย่างปลอดภัย และรู้จักวิธีการกำหนดรูปแบบการพิสูจน์ตัวตน

ทักษะดิจิทัล 6 ด้าน ประกอบไปด้วย

นอกจากทักษะดิจิทัล 9 ด้าน ในปัจจุบันนี้ยังทักษะดิจิทัล (digital skill)  6 ด้าน ที่มีความสำคัญที่มีความจำเป็นต้องพัฒนาดังต่อไปนี้

  1. การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี (Tools and Technologies) 

มีความสามารถในการใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ทั้ง Hardware และ Software มีความเข้าใจพื้นฐานและคุณสมบัติ และหลักการทำงานของเครื่องมือเช่น  ระบบปฏิบัติการ (Operating System), ประเภทของไฟล์ (Filetypes), ระบบการสื่อสารไร้สาย (Mobile Technologies), เครื่องมือในการดำเนินธุรกิจ (Organizational Tools) ครอบคลุมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น Internet of Things หรือ  Collaboration Tools สามารถใช้งานอุปกรณ์พื้นฐานที่มีความจำเป็น เช่น คอมพิวเตอร์ สมารท์โฟน ได้เป็นอย่างดี

  1. การค้นหาและการใช้งาน (Find and Use) 

เป็นทักษะดิจิทัลที่มีความสำคัญเมื่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต มีความสามารถในการสืบ ค้นหาข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต สามารถวิเคราะห์และประเมินข้อมูลได้ว่ามีคุณภาพและน่าเชื่อถือหรือไม่ รวมถึงลิขสิทธิ์ของข้อมูลที่จะต้องอ้างอิงเมื่อมีการนำไปใช้งาน 

  1. การให้ความรู้และการเรียนรู้ (Teach & Learn) 

เป็นความสามารถในการประโยชน์จากเทคโนโลยี มีทักษะและสามารถออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยในการส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เช่น การใช้เครื่องมือในการนำเสนอ (Presentation Tools), การนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการเรียนการสอนแบบเห็นจริง (Classroom Technologies) เป็นต้น 

  1. การสื่อสารและการร่วมมือ (Communication & Collaborate) 

การเชื่อมโยงของยุคอินเทอร์เน็ตช่วยลดข้อจำกัดด้านระยะทางและเวลา เป็นทักษะดิจิทัลที่มีการนำเอาเครื่องมือดิจิทัลและเทคโนโลยีต่างๆ เช่น อีเมล, Video Conference, Zoom meeting, google Doc มาใช้งานเพื่อให้สื่อสารกันได้ง่ายขึ้น สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแม้อยู่ต่างสถานที่ต่างเวลากัน 

  1. การสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Create & Innovate) 

เป็นความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการสร้างแหล่งข้อมูลใหม่ๆ โดยใช้ความสามารถในการสร้างเนื้อหาดิจิทัลด้วยทักษะต่างๆ เช่น Digital Images, กราฟิกดีไซน์, การทำAnimation, การออกแบบ เนื้อหา และบริหารจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์ (Web Content), การเขียนโปรแกรมและออกแบบแอปพลิเคชันบนมือถือ (App Development) เพื่อให้สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ สร้างผลงานหรือ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือแนวความคิดใหม่ ๆ หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน สามารถผลิตสื่อสร้างสรรค์  เช่น สร้างเว็บไซต์ ข้อความ ตัดต่อรูปภาพ วิดีโอ สร้าง software เป็นต้น

  1. การยืนยันตัวตนและสวัสดิการ (Identity & Wellbeing)

เป็นทักษะดิจิทัลในการปกป้องข้อมูลตัวเองในโลกออนไลน์ การสร้างตัวตนในการเข้าถึงข้อมูล (Online Identity) การตั้งค่าความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลด้วยการใช้รหัสผ่าน (Password Management) มีความรับผิดชอบในการดูแลและป้องกันข้อมูลที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้งของตนเองและของผู้อื่นจากภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ มีความสามารถในการควบคุมและเข้าถึงข้อมูลโดยผู้อื่นผ่านทางเทคโนโลยีออนไลน์ (Privacy) สามารถพิจารณาว่าพฤติกรรมใดบ้างที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยและสามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัยถึงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะที่ออนไลน์ได้ รวมถึงการมีจรรยาบรรณในการใช้งาน การกำหนดนโยบาย ขั้นตอนและข้อกำหนดทางกฎหมายในการบริหารจัดการข้อมูล (Data Protection), เป็นต้น

จะเห็นว่าดิจิทัลประกอบไปด้วยทักษะและองค์ความรู้ที่มีความหลากหลายและซับซ้อน เป็นทักษะที่ไม่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ต้องมีจะต้องมีการฝึกฝน พัฒนา เรียนรู้ อยู่ตลอดเวลา หากต้องการเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ พัฒนาทักษะดิจิทัล สามารถเข้าฝึกอบรมกับเราได้ที่ SOLUTIONS IMPACT ได้เลย เรามีหลักสูตรทักษะดิจิทัลสำหรับองค์กร ที่อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระที่ทันสมัย จัดทำและออกแบบหลักสูตรโดยวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ยาวนานกว่า 10 ปีในแวดวงเทคโนโลยี เรียนแล้วสามารถนำเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้จริง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ ทักษะดิจิทัล

ทักษะดิจิทัล 9 ด้านมีอะไรบ้าง

ทักษะดิจิทัล 9 คือ ประกอบด้วย  ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์ การใช้งานอินเทอร์เน็ตการใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย การใช้โปรแกรมประมวลคำ การใช้โปรแกรมตารางคำนวณ  การใช้โปรแกรมนำเสนอผลงาน การใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ และการใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย  

ทักษะดิจิทัลคืออะไร

ทักษะดิจิทัล (Digital Skill) หมายถึง ทักษะในการใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน โปรแกรมคอมพิวเตอร์  แอปพลิเคชัน สื่อออนไลน์ต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนากระบวนการทำงานให้มีความมันสมัยและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของการพัฒนาทักษะดิจิทัล

การพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัลมีประโยชน์ต่อองค์กร นั้นมีหลากหลายเช่นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ผิดพลาดน้อยลง มีความมั่นใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น