Critical Thinking skills ถือเป็นหนึ่งในทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกองค์กรต้องตระหนักถึงความสำคัญ ในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา มีข้อมูลมากมายหลั่งไหลเข้ามา และผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย หากไม่มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรองข้อมูลอย่างรอบคอบและมีเหตุผล อาจทำให้หลงเชื่อข้อมูลที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริง ส่งผลทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด และส่งผลเสียหายต่อองค์กรได้ บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักว่า Critical Thinking คืออะไร Critical Thinking หมายถึงทักษะด้านใด 

Critical Thinking คืออะไร ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ผู้ที่มีความคิดวิพากษ์มีลักษณะอย่างไร

Critical Thinking คือ

Critical Thinking แปลว่าการคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking Skills คือทักษะในการคิด วิเคราะห์  ประเมิน ตัดสินใจ แยกแยะข้อมูล โดยใช้หลักการของเหตุและผล สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงเรื่องต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ตัดสินใจ หลงเชื่อ หรือคล้อยตามในทันที คัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่มีประโยชน์ จนได้คำตอบหรือผลลัพธ์ที่ดีและถูกต้องที่สุด สามารถวางแผนการแก้ไขปัญหาได้อย่างชาญฉลาด รวมไปถึงการคิดหาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการหรือเทคโนโลยีใหม่ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบสำคัญของ Critical Thinking

องค์ประกอบสำคัญของCritical Thinking Skills มีดังนี้

  1.  การให้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical reasoning) 

การให้เหตุผลเชิงตรรกะมีความสำคัญอย่างมากในการทำให้เกิดการตัดสินใจที่ถูกต้อง เป็นกระบวนการคิดวิเคราะห์ ประเมินเหตุผลบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงที่เป็นไปได้ทั้งด้านบวกและลบ สามารถมองภาพรวมทั้งหมดที่เกิดขึ้นและมองหาความเชื่อมโยง โดยไม่นำอารมณ์และความรู้สึกส่วนตัวมาตัดสิน 

  1. การเชื่อมโยงข้อมูล (Information Linkage) 

การเชื่อมโยงข้อมูลมีความสำคัญในการช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้อง ช่วยให้เราสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและเหตุผลที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจน สามารถจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ วิเคราะห์หาข้อเท็จจริงของข้อมูล สามารถเชื่อมโยง และประเมินได้ว่า ข้อเท็จจริงและข้อมูลที่ทราบนั้นเพียงพอที่จะสรุปได้หรือไม่ ข้อมูลใดที่ขาดหายไปและจำเป็นต้องหาเพิ่มเติม

  1. การแก้ปัญหาอย่างมีระบบ (Problem solving) 

การแก้ปัญหาเป็นทักษะที่สำคัญทั้งในชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ช่วยให้เราสามารถตอบสนองกับสถานการณ์ที่มีอุปสรรคหรือต่อความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาอย่างมีระบบเริ่มต้นจากการระบุลักษณะของปัญหา นิยามปัญหา การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา แล้วพิจารณาและออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม ดำเนินการแก้ปัญหานั้น หาแนวทางพัฒนาหรือปรับปรุงการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจในครั้งต่อไปให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และมองหาวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเดิมซ้ำ 

  1. การเข้าใจอคติ (Understanding biases)

 มนุษย์ทุกคนมีอคติทางความคิดโดยที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นอคติต่อตนเองหรืออคติต่อผู้อื่น การมีอคติมีผลต่อการวิเคราะห์ การหาเหตุผล มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ อาจทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ การเข้าใจอคติจะทำให้สามารถวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี และเหมาะสมกับปัญหา

  1. การตัดสินใจ (Decision making) 

การตัดสินใจ กระบวนการที่ต้องเลือกทางเลือกหนึ่งหรือมากกว่านั้นจากทางเลือกที่มีอยู่ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีการวิเคราะห์ รวบรวม ข้อมูลอย่างมีระบบและมีเหตุมีผล เพื่อประเมินทางเลือกหรือแผนการที่ถูกต้องหรือเหมาะสมที่สุด รวมไปถึงการดำเนินการตามแผน การติดตามผลลัพธ์ของการดำเนินการ และประเมินผลว่าได้ผลลัพธ์ตามความคาดหมายหรือไม่ 

  1. มีความคิดสร้างสรรค์และอยากรู้อยากเห็น (Creativity & Curiosity)

การมีความคิดสร้างสรรค์และความอยากรู้อยากเห็น จะช่วยให้มองปัญหาจากมุมมองที่แตกต่างจากวิธีการเดิม นำไปสู่การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คิดหาไอเดียใหม่ๆ คิดค้นสิ่งใหม่ๆ หาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลายและประสิทธิภาพดีกว่าเดิม 

ลักษณะของผู้ที่มีลักษณะนิสัยการคิดวิพากษ์

ลักษณะนิสัยที่ควรพัฒนาเพื่อให้ส่งเสริมให้เกิด Critical Thinking Skills มีดังต่อไปนี้

  1. ชอบค้นหาความจริง 

กล้าตั้งคำถาม หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสมมุติฐาน ค้นหาความจริงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ไม่เชื่อหรือคล้อยตามสิ่งต่างๆ ได้ง่าย ไม่ด่วนตัดสินใจหากยังมีหลักฐานและเหตุผลไม่เพียงพอ การตั้งคำถามที่ดีจะนำไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบที่ต้องการได้

  1. มีใจเปิดกว้าง 

เปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างตั้งใจ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีใจที่เที่ยงธรรม ปราศจากอคติส่วนตัว ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง กล้าที่จะยอมรับและเปลี่ยนแปลงความคิดเมื่อสิ่งที่ตั้งสมมุติฐานไว้นั้นผิดจากความเป็นจริง และมีหลักฐานยืนยันเพียงพอ

  1. มีการคิดวิเคราะห์ 

สามารถคิดวิเคราะห์ ทบทวนสาเหตุของปัญหา และข้อมูลได้อย่างถี่ถ้วนด้วยการใช้หลักการของเหตุและผล คาดการณ์ถึงผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นได้

  1. คิดอย่างเป็นระบบ 

สามารถค้นหาข้อมูลอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีระเบียบ มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน แยกแยะข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง คัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์

  1. มีความใฝ่รู้

เป็นคนที่ฝักใฝ่เรียนรู้ มีความกระตือรือร้นและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ เปิดรับข่าวสาร  ชอบค้นคว้าหาความรู้ มีลักษณะเป็นนักเรียนตลอดชีวิต มีความรู้ที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

  1. ไม่เลือกรับเฉพาะข้อมูลที่สนใจ 

เปิดรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ให้ครบทุกด้าน รวมทั้งด้านที่ตรงข้ามกับสมมุติฐานที่วางไว้ ไม่เลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ตัวเองสนใจเท่านั้น 

การตั้งคำถามแบบ Critical Thinking 

เราได้ทราบกันแล้วว่าCritical Thinking Skills ขับเคลื่อนมาจากความสงสัย และการตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์หาคำตอบที่ถูกต้อง โดยการตั้งคำถามแบบ Critical Thinking มีดังนี้

  • Who ใครเป็นคนพูด เพื่อพิจารณาว่าแหล่งข้อมูลที่ส่งข้อมูลต่างๆมานั้น ส่งมาโดยใคร หน่วยงานไหน เป็นแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
  • What เรื่องที่พูดนั้นคืออะไร พิจารณาดูว่าเรื่องนั้นมีเนื้อหาอย่างไร มีความน่าเชื่อมากน้อยเพียงใด
  • Where เรื่องนั้นมาจากไหน พิจารณาดูว่าเรื่องนั้นมาจากไหน แหล่งที่มามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เช่น อ้างอิงจากบทความทางวิชาการ มาจากงานประชุม มาจากงานวิจัย หรือเป็นคำพูดที่ส่งต่อกันมา
  •  When ได้รับข้อมูลมาเมื่อไหร่ พิจารณาช่วงเวลาว่าข้อมูลที่ได้มาเวลาไหน เป็นข้อมูลเก่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้าหรือไม่ มีข้อมูลที่อัพเดทและเป็นปัจจุบันมากกว่านั้นหรือไม่
  • Why ทำไมถึงการส่งข้อมูล พิจารณาถึงวัตถุประสงค์และเหตุผลในการนำเสนอข้อมูลนั้น ว่าส่งข้อมูลเพื่ออะไร

ทักษะการคิดวิพากษ์มีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร

ผู้ที่มีการฝึกฝนCritical Thinking Skills จะส่งผลดีต่อทั้งตนเองและองค์กร โดยมีประโยชน์ดังนี้

  1. ผู้ที่มีCritical Thinking Skills จะสามารถตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม มีเหตุผล มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ป้องกันการตัดสินใจผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ถูกหลอกจากข้อมูลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือและไม่ถูกต้อง
  2. การที่ความคิดวิพากษ์มักเริ่มต้นจากความสงสัย ไม่ปักใจเชื่อในวิธีการเดิมๆ วิเคราะห์หาความไม่สอดคล้องของวิธีการแก้ปัญหาเดิมกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิดหาไอเดียใหม่ๆ เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ มองหาความคิดใหม่ที่แตกต่าง เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นคำตอบที่สมเหตุสมผล พร้อมทั้งค้นหาแนวทางใหม่และวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับบริบทแวดล้อมมากกว่าเดิม 
  3. แก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น เมื่อมีการคิดวิเคราะห์ถึงต้นเหตุของปัญหาอย่างรอบด้าน ทำให้สามารถออกแบบและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การคิดแบบ Critical Thinking ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการรวบรวมความคิดเห็นของลูกค้าที่ไม่ประทับใจจากการเข้ารับบริการ วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา แล้วนำไปปรับปรุงงานบริการให้ดียิ่งขึ้น 
  4. Critical Thinking Skills ช่วยให้ตัดสินใจตามข้อเท็จจริง ไม่ใช้อารมณ์ และความรู้สึกส่วนตัว
  5. ผู้ที่มีCritical Thinking Skills มีการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยอาศัยหลักการของเหตุและผล จะช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 
  6. เพิ่มความสามารถในการสื่อสารกับผู้อื่น สามารถสื่อสาร อธิบายเหตุผล ส่งต่อข้อมูลที่วิเคราะห์ ทั้งการพูด เขียน ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. ผู้ที่มี Critical Thinking Skills จะมีการพัฒนาการคิดและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา มีสติปัญญาที่เฉียบแหลมยิ่งขึ้น 

Critical Thinking Skills จำเป็นต้องมีการฝึกฝนและเรียนรู้ การฝึกคิดแบบมีเหตุและผล ซึ่งที่ SOLUTIONS IMPACT เรา ใช้รูปแบบการอบรมที่เหนือกว่าการบรรยายปกติ ด้วยการอบรมแบบ Hyper Active Learning เน้นการฝึกฝนภาคปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับการอบรม  กระตุ้นให้เกิด Insight และดึงดูดความสนใจด้วยการนำเอาหลักการทางจิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์ การเล่มเกม และกลยุทธ์การเรียนรู้รูปแบบใหม่ มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบเนื้อหาและประสบการณ์การเรียน และเน้นการปรับเปลี่ยน Mindset เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดหรือแรงบันดาลใจใหม่ๆ ภายในตัวผู้เรียน กระตุ้นให้เกิด Critical Thinking Skills หลักสูตรของเราไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการถ่ายทอดความรู้เท่านั้น แต่ต้องการอํานวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมได้อย่างยั่งยืน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Critical Thinking

Critical Thinking คืออะไร

Critical Thinking แปลว่าการคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking Skills คือทักษะในการคิด วิเคราะห์  ประเมิน ตัดสินใจ แยกแยะข้อมูล โดยใช้หลักการของเหตุและผล สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงเรื่องต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ตัดสินใจ หลงเชื่อ หรือคล้อยตามในทันที คัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่มีประโยชน์ จนได้คำตอบหรือผลลัพธ์ที่ดีและถูกต้องที่สุด สามารถวางแผนการแก้ไขปัญหาได้อย่างชาญฉลาด รวมไปถึงการคิดหาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการหรือเทคโนโลยีใหม่ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ลักษณะของผู้ที่มี Critical Thinking 

ลักษณะนิสัยที่ควรพัฒนาเพื่อให้ส่งเสริมให้เกิด Critical Thinking Skills มีดังต่อไปนี้
1. ชอบค้นหาความจริง  
2. มีใจเปิดกว้าง รับฟังความเห็นของผู้อื่น
3. มีการคิดวิเคราะห์ 
4. คิดอย่างเป็นระบบ 
5. มีความใฝ่รู้
6. ไม่เลือกรับเฉพาะข้อมูลที่สนใจ 

ประโยชน์ของการมี Critical Thinking

ผู้ที่มีการฝึกฝนCritical Thinking Skills จะส่งผลดีต่อทั้งตนเองและองค์กร โดยมีประโยชน์ดังนี้
1. สามารถตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม มีเหตุผล มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ป้องกันการตัดสินใจผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ถูกหลอกจากข้อมูลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือและไม่ถูกต้อง
2. เกิดความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิดหาไอเดียใหม่ๆ เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ มองหาความคิดใหม่ที่แตกต่าง เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นคำตอบที่สมเหตุสมผล พร้อมทั้งค้นหาแนวทางใหม่และวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับบริบทแวดล้อมมากกว่าเดิม 
3. แก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น ออกแบบและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 
4. ช่วยให้ตัดสินใจตามข้อเท็จจริง ไม่ใช้อารมณ์ และความรู้สึกส่วนตัว
5. มีการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยอาศัยหลักการของเหตุและผล จะช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 
6. เพิ่มความสามารถในการสื่อสารกับผู้อื่น สามารถสื่อสาร อธิบายเหตุผล ส่งต่อข้อมูลที่วิเคราะห์ ทั้งการพูด เขียน ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. มีการพัฒนาการคิดและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้มีสติปัญญาที่เฉียบแหลมยิ่งขึ้น