เทคโนโลยี AI ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ในปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่ามีการนำเอาเทคโนโลยี AI มาใช้แทนการทำงานโดยมนุษย์ในหลายภาคส่วนทั้งภาคการเกษตร ภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม เพื่อช่วยให้การดำเนินงานมีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ช่วยลดต้นทุนและขั้นตอนการการผลิตและการทำงานลง ลดโอกาสในการเกิดความผิดพลาด จึงส่งผลช่วยให้องค์กรธุรกิจเกิดการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการให้บริการ มีความเติบโตก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว ในบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักว่า AI คืออะไร AI ย่อมาจากคำว่าอะไร และมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
มาทำความรู้จักว่า AI คืออะไร AI ย่อมาจากอะไร และมีความหมายอย่างไร
AI ย่อมาจาก artificial intelligence ในภาษาไทยคือคำว่า “ปัญญาประดิษฐ์” สำหรับความหมายของ AI นั้นมีการให้คำนิยามของ AI ที่หลากหลาย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้ให้คำนิยามไว้ว่า AI หมายถึง “เทคโนโลยีการสร้างความสามารถให้แก่เครื่องจักรและคอมพิวเตอร์ ด้วยอัลกอริทึมและกลุ่มเครื่องมือทางสถิติ เพื่อสร้างโปรแกรมที่สามารถเลียนแบบความสามารถของมนุษย์ที่มีความซับซ้อนได้ เช่น จดจำ แยกแยะ ให้เหตุผล ตัดสินใจ คาดการณ์ สื่อสารกับมนุษย์ เป็นต้น ในบางกรณีอาจไปถึงขั้นเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง”
ประเภทของ AI มีอะไรบ้าง
ประเภทของ AI สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. Artificial Narrow Intelligence (ANI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์แบบเบา (Weak AI)
เป็นประเภทของ AI ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งตามโปรแกรมที่วางไว้ ไม่สามารถทำงานอื่นนอกเหนือจากโปรแกรมที่ตั้งไว้ได้ ไม่มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ยังไม่มีความฉลาดเท่ามนุษย์ เป็นประเภทของ AI ที่ถูกนำมาใช้งานอยู่ในปัจจุบันนี้ ยกตัวอย่างเช่น SIRI, Alexa ระบบถามตอบอัตโนมัติบนหน้าเว็บไซต์ต่างๆ การจดจำใบหน้า เป็นต้น
2. Artificial General Intelligence (AGI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม (Strong AI)
เป็น AI ที่มีความสามารถใกล้เคียงหรือเทียบเท่ากับมนุษย์ (Human-Level AI) ไม่ว่าจะเป็นการคิด วิเคราะห์ การเข้าใจ เรียนรู้ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้มาแก้ไขปัญหา ซึ่งหากพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบจะเป็น AI ที่มีความสามารถที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ทักษะการเคลื่อนไหว ความเข้าใจในภาษา ทักษะการเข้าสังคม และการมีความคิดสร้างสรรค์ เป็นประเภทของ AI ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาในปัจจุบัน
3. Artificial Super Intelligence (ASI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์แบบทรงปัญญา
เป็น AI ประเภทที่เรียกว่า เครื่องจักรทรงภูมิปัญญา หรือ Machine Superintelligence ที่สามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ ด้วยความเร็วสูง มีศักยภาพในเชิงสติปัญญา มีความเข้าใจความรู้สึกและอารมณ์เหมือนมนุษย์ มีความฉลาดเหนือกว่ามนุษย์ในหลายด้าน AI ประเภทนี้เป็น AI แห่งอนาคตที่ยังไม่สามารถพัฒนาได้ในปัจจุบัน
หลักการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ความสามารถของ AI ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
หลักการทำงานของ AI ที่ถูกนำมาใช้งานในปัจจุบันนี้สามารถจำแนกได้เป็น
1. Machine Learning
เป็นการทำให้เครื่องสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากข้อมูลที่เรากำหนดไว้ โดย AI สามารถเรียนรู้ได้ใน 2 รูปแบบคือการเรียนรู้จากข้อมูลในอดีต และการพยากรณ์เพื่อแสดงผลลัพธ์ การเรียนรู้ของ AI จะเริ่มจากการเรียนรู้จากข้อมูลในอดีตผ่านแบบจำลองที่กำหนด จากนั้นจึงประมวลผลข้อมูลที่ได้รับในปัจจุบันแล้วแสดงผลลัพธ์ออกมา Machine Learning แบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่
1.1. การเรียนรู้แบบมีผู้สอน (Supervised Machine Learning Algorithms)
เป็นการนำเอาข้อมูลที่ใช้ในการฝึก (Training Data) มาแยกประเภทผลลัพธ์ด้วยการติดป้าย (Label) แล้วนำข้อมูลที่ติดป้ายแล้วไปใช้ในการฝึกคอมพิวเตอร์ที่ทำงานผ่านอัลกอริทึมสำหรับการสร้างโมเดลที่ใช้ในการทำนายผลลัพธ์ โมเดลที่ผ่านการฝึกแล้วจะถูกทดลองกับข้อมูลใหม่ (New Data) เพื่อให้ทำนายและคาดคะเนคำตอบผ่านแบบจำลอง (Predictive Model) จากข้อมูลที่ได้รับ ตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้ เช่น การคำนวณราคาบ้านหรือการวิเคราะห์ผลฟุตบอล เป็นต้น
1.2. การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน (Unsupervised Machine Learning Algorithms)
เป็นการให้เครื่องจักรเรียนรู้ด้วยข้อมูลที่ไม่ถูกติดป้ายกำกับข้อมูล มนุษย์จะเป็นผู้ใส่ข้อมูล และกำหนดสิ่งที่ต้องการจากข้อมูลนั้น เครื่องจะเรียนรู้จากข้อมูลที่ได้รับและทำความเข้าใจ การเรียนรู้ประเภทนี้จึงไม่สามารถหาผลลัพธ์ที่ถูกต้องได้ แต่จะใช้วิธีการสำรวจและอนุมานว่าข้อมูลนั้นคืออะไร ตัวอย่าง Machine Learning ประเภทนี้ ได้แก่ ระบบแนะนำคลิปวิดีโอใน YouTube เป็นต้น
1.3 Reinforcement Machine Learning Algorithms
เป็นการเรียนรู้ของเครื่องแบบเสริมกำลัง โดยกำหนดเป้าหมายให้คอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า “Reinforcement Signal” เพื่อให้คอมพิวเตอร์สร้างทางเลือกการตัดสินใจในหลายรูปแบบ แล้วเรียนรู้จากการลองผิดลองถูกตามสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นเครื่องจะเก็บข้อมูลการตัดสินใจในแต่ละทางเลือกเพื่อเรียนรู้ผลลัพธ์และข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น พัฒนาแนวทางการตัดสินใจให้ดีขึ้นเรื่อยๆ วิธีนี้จะช่วยให้เครื่องสามารถประมวลผลเพื่อหาทางเลือกที่ให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างของ AI ประเภทนี้ได้แก่ AlphaGo ที่สามารถเล่นเกมโกะชนะผู้เล่นระดับโลกได้
2. การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP)
เป็นการทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาของมนุษย์ด้วยอัลกอริทึมที่สามารถประมวลผลภาษาของมนุษย์ได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังคงมีข้อจำกัดอยู่ เนื่องจากมนุษย์มีการใช้ภาษาที่มีความหลากหลายทั้งโครงสร้าง รูปประโยค ไวยากรณ์ที่แตกต่างกัน AI จึงยังไม่สามารถเข้าใจภาษามนุษย์ได้อย่างถ่องแท้ โดย NLP มีขั้นตอนการทำงานดังนี้
- การวิเคราะห์ทางองค์ประกอบของคำ (Morphological Analysis)
- การวิเคราะห์ไวยากรณ์ของประโยคและวลีต่างๆ (Syntactic Analysis)
- การวิเคราะห์ความหมายของคำด้วยการกำหนดค่า แยกแยะรูปประโยคและไวยากรณ์ (Semantic Analysis)
- การวิเคราะห์ความหมายประโยคจากบริบท (Discourse Integration)
- การวิเคราะห์เพื่อแปลความหมายด้วยข้อมูลจากขั้นตอนที่ผ่านมา (Pragmatic Analysis)
NLP เครื่องมือ AI ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบ เช่น ระบบแปลภาษา ระบบการค้นหาข้อมูล ระบบประมวลภาษามือ เป็นต้น
3. การวางแผน (Automated Planning, Scheduling & Optimization)
เป็นการสร้างให้ AI มีความในการสามารถตัดสินใจด้วยการเลือกการกระทำหรือการดำเนินการที่มีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายได้มากที่สุด AI จะทำงานตามขั้นตอนที่กำหนด (Workflow) จากนั้นจึงวิเคราะห์และลดขั้นตอนที่มีความซ้ำซ้อนลง เช่น การแนะนำเส้นทางที่การจราจรติดขัดน้อยที่สุด
4. การวิเคราะห์แบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
เป็นการทำให้ AI สามารถเลียนแบบความสามารถในการตัดสินใจอย่างเชี่ยวชาญของมนุษย์ ระบบจะถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาที่มีซับซ้อนผ่านการพิจารณาเหตุผลด้วยความรู้ ซึ่งมีความซับซ้อน สามารถตอบสนองและตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วโดยปราศจากอคติ เช่น การวิเคราะห์การอนุมัติบัตรเครดิต
5. Speech Recognition
เป็นการสร้างให้คอมพิวเตอร์รู้จักเสียงและคำพูด โดยการแปลงเสียงให้เป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านเข้าใจได้ อย่างไรก็ตามความสามารถของโดย AI ยังคงมีข้อจำกัด รวมทั้งไม่สามารถเข้าใจคำสแลง สุภาษิตคำพังเพย คำอุปมาอุปไมยได้ โดยหลักการพื้นฐานของระบบรู้จักเสียงประกอบด้วย การวิเคราะห์คลื่นเสียง การถอดรหัสคำ การสร้างโมเดลคลื่นเสียง พจนานุกรม และโมเดลไวยากรณ์ของภาษา
6. Computer Vision
คือการทำให้คอมพิวเตอร์มีตา สามารถมองเห็นภาพได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ AI เข้าใจโครงสร้างและคุณลักษณะสำคัญของภาพ สามารถระบุและประมวลผลภาพที่เห็นในลักษณะที่คล้ายคลึงกับความสามารถในการมองเห็นของมนุษย์ หลักการทำงานของ Computer Vision คือ การแปลงจากภาพ (Image) เป็นแบบจำลอง (Model) ที่คอมพิวเตอร์สามารถรับรู้และเข้าใจได้ มีความสามารถจดจำและจำแนกรูปภาพ รวมทั้งวิเคราะห์รูปภาพที่เห็นได้ตามที่กำหนด ยกตัวอย่างการนำมาใช้งานเช่น การสแกนใบหน้าเข้ารหัส (Face recognition) สำหรับปลดล็อกหน้าจอมือถือ การสแกนใบหน้ายืนยันตัวตน การตรวจสอบหาสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานในสายการผลิต การวิเคราะห์ภาพถ่ายทางการแพทย์ เป็นต้น
7. หุ่นยนต์ (Robotics)
เป็นเทคโนโลยี AI ที่ต้องประยุกต์กับหลักวิชาด้านวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล และวิทยาการ คอมพิวเตอร์ ในการออกแบบและพัฒนาเครื่องยนต์ให้มีรูปร่างและเคลื่อนไหวได้แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ เช่น
- หุ่นยนต์ที่นำไปใช้งานเฉพาะด้าน ได้แก่ หุ่นยนต์ด้านการบินและอวกาศ หุ่นยนต์ด้านการรับมือกับภัยพิบัติ หุ่นยนต์กู้ภัย หุ่นยนต์ทำงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ หุ่นยนต์ด้านการแพทย์ หุ่นยนต์ด้านการทหาร
- หุ่นยนต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ได้แก่ หุ่นยนต์เพื่อสันทนาการ หุ่นยนต์สัตว์เลี้ยง หุ่นยนต์ดูดฝุ่น หุ่นยนต์ตัวแทนมนุษย์ (Telepresence) หุ่นยนต์ขนส่ง เป็นต้น
- หุ่นยนต์เพื่อเพิ่มสมรรถภาพ ได้แก่ หุ่นยนต์ทดแทนอวัยวะหรือเพิ่มความสามารถให้แก่ผู้พิการ เช่น แขนเทียมกล ขาเทียมกล เป็นต้น หุ่นยนต์ไร้คนขับทางอากาศ (Drone)
- หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (Humanoids) เป็นหุ่นยนต์ที่มีลักษณะใกล้เคียงมนุษย์ที่สุด สามารถ แสดงออกทางอารมณ์ได้ทางใบหน้า พูดคุยโต้ตอบได้เหมือนมนุษย์ เช่น นักข่าว AI
ประโยชน์ของ AI ที่มีต่อองค์กรธุรกิจ
การนำเอาเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในองค์กรธุรกิจจะก่อให้เกิดประโยชน์ของ AI ในด้านต่างๆ เช่น
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน
เทคโนโลยี AI ช่วยจัดการงานที่มีความซับซ้อน ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลสูง มีข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว และมีความแม่นยำสูง จึงช่วยลดข้อผิดพลาดจากการทำงาน ช่วยลดปัญหาการทำงานที่มีความซ้ำซ้อน ลดข้อจำกัดในการทำงานโดยมนุษย์ลงเนื่องจาก AI สามารถทำงานได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องหยุดพักผ่อนเหมือนมนุษย์ ช่วยให้พนักงานมีเวลาในการพัฒนางานด้านอื่นมากขึ้น จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงาน และเพิ่มผลผลิตจากการดำเนินงานให้มีจำนวนงานมากขึ้น เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน สามารถวัดผลและเก็บข้อมูลการดำเนินงานได้ง่าย
2. เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
AI อย่างเช่น chatbot สามารถตอบคำถาม ให้ข้อมูลสินค้าและบริการ รวมทั้งแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และสามารถทำงานได้ตลอดเวลา ลูกค้าจึงสามารถติดต่อสื่อสารกับธุรกิจได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเดินทางไปถึงบริษัท ไม่ต้องรอวันเปิดทำการ จึงเป็นการช่วยเสริมสร้างประสบการณ์อันดี เพิ่มความเชื่อมั่นและความประทับใจของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจได้ และยังช่วยลดภาระงานของพนักงานด้วย
3. เพิ่มความสามารถในการเติบโตของธุรกิจ
เทคโนโลยี AI ช่วยวิเคราะห์และหาความเชื่อมโยงของข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มีความซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มทางการตลาด วิเคราะห์ข้อมูลการเงินและบัญชี วิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จึงช่วยให้ธุรกิจสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจในการวางแผนและการดำเนินงานในด้านต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
4. เพิ่มพูนความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยี AI อย่างไรได้บ้าง
หากต้องการเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI อย่างลึกซึ้ง นำเอาความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการทำงานและการพัฒนาองค์กร สามารถเข้ามาเรียนรู้ผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมของเราได้ที่ SOLUTION IMPACT เรามีหลักสูตรฝึกอบรมทางด้านเทคโนโลยี AI ที่มีความน่าสนใจ ได้แก่
1. หลักสูตร Generative AI & ChatGPT for Business, AI Skills and Literacy
เป็นหลักสูตรที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง Generative AI และ ChatGPT มากยิ่งขึ้นสามารถนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานร่วมกับ AI เพิ่มโอกาสต่อยอดทางธุรกิจ และเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกทางด้านดิจิทัลด้วย Digital Skill ที่ทันสมัย
2. Empowering AI+Digital Mindset for All Level
เพราะเราเข้าใจว่าการเรียนรู้เรื่องทักษะแห่งอนาคต จะประสบความสำเร็จไม่ได้หากผู้เรียนปราศจากทัศนคติในเชิงบวกกับเทคโนโลยี หลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมี Mindset ที่ดีในการนำเอา AI มาใช้งาน พนักงานภายในองค์กรยอมรับและนำไปปรับใช้อย่างเต็มใจ ช่วยให้เข้าใจผลกระทบของ AI ที่มีต่อธุรกิจและองค์กร เพิ่มขีดความสามารถทางดิจิทัลของตนเองและทีมงาน ยกระดับ Productivity ด้วย AI และเทคโนโลยีใหม่ ๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
สามารถเข้ามาปรึกษาเราก่อนได้ที่ SOLUTIONS IMPACT หรือ LINE
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ AI ย่อมาจาก
AI คืออะไร ปัจจุบันนำมาใช้ประโยชน์อะไรบ้าง
AI ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น
ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ ช่วยในการตรวจวิเคราะห์ภาพถ่ายทางการแพทย์ เช่น ภาพเอ็กซเรย์ CT Scan, Ultra Sound ภาพเอ็กโตกราฟี หรือภาพส่องกล้อง สามารถแยกแยะเซลล์ที่ผิดปกติออกจากเซลล์ที่ปกติ ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ทันทีและแม่นยำมากขึ้น สามารถคาดการณ์ความเสี่ยงของการเป็นโรคได้ล่วงหน้า
ใช้หุ่นยนต์ AI ช่วยในการผ่าตัดในบริเวณที่มือมนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้
ใช้ติดตามเส้นทางการจราจรได้แบบเรียลไทม์ เพื่อแนะนำเส้นทางที่ดีที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางจราจรที่มีความหนาแน่นได้ ทำให้การเดินทางมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ใช้ Chatbot ในระบบบริการลูกค้าออนไลน์ ช่วยตอบคำถาม ให้ข้อมูล และแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ผู้ให้บริการด้านความบันเทิง เช่น Netflix และ Youtube ใช้ AI ในการติดตามพฤติกรรมการชมซีรีย์ ภาพยนตร์ และวิดีโอ โดยเก็บประวัติประเภทของสื่อที่ที่เราเลือกชม ระยะเวลาในการเข้าชม นักแสดง แล้วแนะนำหนัง ซีรีย์ วิดีโอที่เรามีแนวโน้มว่าจะสนใจให้แสดงผลในหน้าแรก
ใช้สแกนใบหน้าก่อนเข้าสถานที่ทำงาน สแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนเมื่อทำธุรกรรมทางการเงิน การสแกนใบหน้าเพื่อปลดล็อกหน้าจอมือถือ
ช่วยตรวจจับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เสียหายจากการผลิต และทำการคัดแยกออกมาได้อย่างแม่นยำ
AI มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ประเภทของ AI มีทั้งหมด 3 ประเภทดังนี้
Artificial Narrow Intelligence (ANI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์แบบเบา (Weak AI)
เป็นประเภทของ AI ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งตามโปรแกรมที่วางไว้ ไม่สามารถทำงานอื่นนอกเหนือจากโปรแกรมที่ตั้งไว้ได้ ยังไม่มีความฉลาดเท่ามนุษย์ เป็นประเภทของ AI ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันนี้
Artificial General Intelligence (AGI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม (Strong AI)
คือ AI ที่มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ (Human-Level AI) ไม่ว่าจะเป็นการคิด วิเคราะห์ การเข้าใจ เรียนรู้ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้มาแก้ไขปัญหาได้ เป็นประเภทของ AI ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาในปัจจุบัน
Artificial Super Intelligence (ASI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์แบบทรงปัญญา
เป็น AI ประเภทที่เรียกว่า เครื่องจักรทรงภูมิปัญญา (Machine Superintelligence) มีศักยภาพในเชิงสติปัญญา มีความเข้าใจความรู้สึกและอารมณ์เหมือนมนุษย์ มีความฉลาดเหนือกว่ามนุษย์ในหลายด้าน AI ประเภทนี้เป็น AI แห่งอนาคตที่ยังไม่สามารถพัฒนาได้ในปัจจุบัน
AI ย่อมาจากคำว่าอะไร และภาษาไทยใช้คำว่าอะไร
AI ย่อมาจากคำว่า artificial intelligence ในภาษาไทยคือคำว่า“ปัญญาประดิษฐ์”