เนื่องจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น ภาวะโลกร้อน มลพิษ และปัญหาทางด้านสังคมที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ส่งผลกระทบทั้งต่อการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นวงกว้าง หลายธุรกิจจึงเริ่มมีการปรับตัวและให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม จึงเกิดแนวคิด ESG เพื่อเป็นแนวทางสำคัญที่ธุรกิจนำมาปรับใช้ในการมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ในบทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจว่า แนวคิด ESG คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไร และหากต้องการเพิ่มพูนความรู้เรื่อง ESG เรียน Sustainability Course ที่ไหนดี
Environmental Social and Governance (ESG) คืออะไร ประกอบด้วยมิติใดบ้าง
ESG มาจากคำว่า Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) แนวคิด ESG คือ แนวคิดที่นำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนโดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์กรโดยไม่หวังเพียงผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ยังคำนึงถึงปัจจัยทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และหลักธรรมาภิบาลควบคู่กันไปด้วย ธุรกิจที่ดำเนินงานตามแนวคิด ESG ความยั่งยืน จะช่วยสร้างความน่าเชื่อ แสดงถึงความสามารถและศักยภาพของธุรกิจ พัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันได้ โดยแนวคิด ESG ประกอบด้วย 3 มิติ ดังนี้
1. E: Environment (สิ่งแวดล้อม)
ในปัจจุบันนี้จะเห็นว่าการทำกิจกรรมของธุรกิจต่างๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้นไม่มากก็น้อย เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก, การสร้างของเสีย, การปล่อยมลพิษ จึงเป็นความรับผิดชอบของธุรกิจในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด รวมทั้งการให้ความสำคัญในการสนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย โดยสามารถประเมินESG ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้จากตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ การวัดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การผลิตสินค้าด้วยวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณการใช้กระดาษ การประหยัดพลังงาน หรือการใช้พลังงานทดแทน เป็นต้น
2. S: Social (สังคม)
เป็นการจัดการด้านสังคม ธุรกิจสามารถสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งบุคคลภายในและภายนอกองค์กร เช่น พนักงาน ลูกค้า ชุมชนท้องถิ่น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยธุรกิจจะต้องสร้างกิจกรรมอย่าง CSR สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกส่วนเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น ตัวชี้วัดที่ใช้ประเมินสามารถวัดได้จากหลายรูปแบบ เช่น สวัสดิการพนักงาน การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในที่ทำงาน ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยและชีวอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน เสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาตนเอง การจ่ายค่าตอบแทนตามกฎหมายกำหนด การให้ความสำคัญต่อกฎหมายแรงงานและหลักสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
3. G: Governance (ธรรมาภิบาล)
เป็นการจัดการด้านธรรมาภิบาล ความโปร่งใสขององค์กรในการดำเนินธุรกิจ องค์กรมีการดำเนินงานด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด สามารถตรวจสอบได้ แสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการต่อต้านการทุจริตในทุกรูปแบบ มีการเปิดเผยนโยบายและข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาและชัดเจน เช่น การแสดงนโยบายในการต่อต้านคอร์รัปชันโดยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ ของบริษัท มีการแสดงโครงสร้างองค์กร ให้ความสำคัญต่อการปกป้องเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น
ความสำคัญของ ESG ต่อการดำเนินองค์กรในปัจจุบันเป็นอย่างไร
การดำเนินธุรกิจตามแนวคิดของ ESG ช่วยเสริมสร้างให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยความสำคัญของ ESG มีดังนี้
- สร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ
การให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบทางสังคม การบริหารงานด้วยความโปร่งใส ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจ ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของยอดขายและกำไรในระยะยาว
- ดึงดูดนักลงทุน
ในปัจจุบันนักลงทุนให้ความสนใจในธุรกิจที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการจัดการตามแนวคิดของ ESG เป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำให้สำเร็จได้โดยง่าย นับว่าเป็นภาระและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นจากการดำเนินงานโดยปกติ ต้องอาศัยความร่วมมือของพนักงานทุกฝ่ายโดยการผลักดันและส่งเสริมด้วยการกำหนดนโยบายของผู้บริหารอย่างเป็นรูปธรรม ธุรกิจต้องมีการดูแลกำกับที่ดี มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน ดังนั้นธุรกิจที่สามารถดำเนินงานตามแนวคิด ESG ได้ดีจึงเป็นเครื่องสะท้อนถึงศักยภาพและความสามารถของธุรกิจนั้น ทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นว่าองค์กรนั้นๆ สามารถดำเนินงานได้โดยผลตอบแทนทั้งในด้านชื่อเสียงที่ดีและกำไรในระยะยาวได้
- ดึงดูดคนมาทำงานด้วย
ภาพลักษณ์ขององค์กรที่บริหารธุรกิจด้วยหลัก ESG ความยั่งยืน อย่างมีประสิทธิภาพ จะสะท้อนถึงการดูแลเอาใจใส่พนักงานในองค์กรอย่างเป็นธรรม การให้คุณค่าและยอมรับความแตกต่างของผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีการดำเนินงานอย่างสุจริต ชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้ ควบคู่ไปกับการรักษาสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นเทรนด์ที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ จึงเป็นการดึงดูดคน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ให้อยากเข้ามาร่วมงานด้วย
- ดึงดูดลูกค้าใหม่และสร้างความภักดีของลูกค้าเก่า
ธุรกิจที่มีภาพลักษณ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนจะเป็นเครื่องจูงใจและกระตุ้นให้กลุ่มลูกค้าในยุคปัจจุบันที่เห็นความสำคัญในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการอย่างไม่ลังเล ลูกค้าเกิดความรู้สึกดีที่ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมโดยการสนับสนุนด้วยการซื้อสินค้าและบริการ เกิดความจงรักภักดีและความประทับใจต่อธุรกิจ ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อโดยเทียบราคากับคู่แข่งน้อยลงจากเรื่องราวทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ธุรกิจดำเนินการ
- ช่วยบริหารความเสี่ยงลดความเสี่ยงในการลงทุน
การดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญของ ESG มักมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าบริษัทที่ไม่ได้คำนึงถึงการทำ ESG ช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงทางกฎหมาย หลีกเลี่ยงการดำเนินงานและการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย ความเสี่ยงที่จะทำผิดสัญญาต่อคู่สัญญาหรือคู่ค้า ลดโอกาสที่ธุรกิจจะสร้างผลกระทบในทางลบต่อสังคม ลดความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องเพื่อชดเชยความเสียหาย ซึ่งอาจทำให้ตกข่าวในทางลบเป็นวงกว้าง ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงได้
ตัวอย่างองค์กรที่ประสบความสำเร็จการทำ ESG
ในปัจจุบันนี้มีองค์กรชั้นนำในประเทศไทยมากมายที่เล็งเห็นความสำคัญของ ESG โดยมีตัวอย่างของบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน เช่น
บริษัท SCG
บริษัท SCG เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีการประกาศนโยบายอย่างชัดเจนและให้ความสำคัญด้านการจัดการอย่างยั่งยืน โดยดำเนินงานและจัดทำกิจกรรมตามแนวคิด ESG อย่างครบถ้วนทั้ง 3 มิติมาอย่างต่อเนื่อง เช่น
- ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้มีการพัฒนาและออกแบบโซลูชันเม็ดพลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้ง่าย และใช้ทรัพยากรลดลง การส่งเสริมนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพเพื่อให้เป็นวัสดุทางเลือก เป็นต้น
- การพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากเยื่อยูคาลิปตัสที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติภายใน 60 วัน เคลือบด้วยฟิล์มที่สามารถสัมผัสอาหารร้อนได้ หลังจากการใช้งานสามารถลอกฟิล์มเพื่อนำไปรีไซเคิลได้
- ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการจัดทำโครงการรักษ์ทะเล กระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของตัวอ่อนปะการังและเพิ่มความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเล โดย
การนำเทคโนโลยี CPAC 3D Printing มาทำเป็นวัสดุฐานสำหรับเกาะตัวอ่อนปะการังและการปลูกปะการังธรรมชาติ สร้างต้นแบบปะการังเทียมโดยใช้เศษคอนกรีตรีไซเคิลเป็นส่วนผสมทดแทนหินปูน
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
ถือเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานองค์กรภายใต้แนวคิดความยั่งยืนโดยมีเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชน โดยมีตัวอย่างการดำเนินงานดังนี้
- เก็บกลับบรรจุภัณฑ์ หลังการบริโภคได้แก่ แก้ว เศษแก้ว กระป๋องอะลูมิเนียม กล่องกระดาษลูกฟูก และขวดพลาสติก PET เพื่อนำมาคัดแยกที่โรงงานคัดแยกของบริษัทแล้วนำไปรีไซเคิลต่อไป
- ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยการลดปริมาณอะลูมิเนียมที่ใช้ในการผลิตกระป๋อง รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ลักษณะอื่น เช่น การลดน้ำหนักขวดพลาสติก การลดขนาดฝาจีบ การลดความหนาของแผ่นฟิล์มพลาสติก การลดขนาดกล่องกระดาษลูกฟูกหรือเปลี่ยนเป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- การมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ มีความปลอดภัย ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นสำหรับผู้บริโภค โดยการร่วมมือด้านงานวิจัยกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น การลดปริมาณน้ำตาล การควบคุมและลดปริมาณโซเดียม การไม่ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมต (MSG) และสารกันบูด
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
บริษัท ปตท. มีความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ยึดหลักการและแนวการทำงานบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและการกำกับดูแล โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้
- ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยการจัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 รวมทั้งหมด 1 ล้านไร่ ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย และมีการสนับสนุนพื้นที่และปลูกป่าเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
- การพัฒนาและนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเป้าหมายในการปรับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก.ในการดำเนินงานให้ได้มากที่สุด
- จัดทำโครงการดักจับและนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ ลดการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ก๊าซโซเดียมไบคาร์บอเนตที่แยกได้จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ มาเป็นสารตั้งต้นในการผลิต
อบรม ESG 2567 เรียน Sustainability Course ที่ไหนดี
จะเห็นได้ว่าการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยหลักการตามแนวคิด ESG จะช่วยให้ธุรกิจมีความเติบโตในระยะยาวอย่างยั่งยืน ทั้งยังส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีในด้านการสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวม หากต้องการเรียน Sustainability Course เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำ ESG เพื่อนำไปปรับใช้ในการดำเนินองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน สามารถเข้าร่วมการอบรมหลักสูตร Sustainability Course ที่ SOLUTIONS IMPACT เรามีหลักสูตรอบรม ESG ที่ออกแบบหลักสูตร Sustainability Training โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในด้านการจัดการองค์กรอย่ายั่งยืน สามารถปรับหลักสูตรอบรม ESG ให้เหมาะสมกับลักษณะการดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์ได้ เมื่อเรียนรู้แล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจได้จริง สามารถเข้ามาปรึกษาเราก่อนได้ที่ SOLUTIONS IMPACT หรือ LINE
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Sustainability course
ESG ย่อมาจากอะไร และหมายถึงอะไร
ESG แนวคิด ESG จึงเป็นแนวคิดที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์กรโดยไม่หวังเพียงผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ยังคำนึงถึงปัจจัยทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และหลักธรรมาภิบาลควบคู่กันไปด้วย
ESG ประกอบด้วยมิติด้านใดบ้าง
ESG ประกอบด้วย 3 มิติ ดังนี้
Environment (สิ่งแวดล้อม) เป็นการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด รวมทั้งการให้ความสำคัญในการสนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อม
Social (สังคม) เป็นการจัดการด้านสังคม โดยการจัดการด้านการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
Governance (ธรรมาภิบาล) เป็นการจัดการด้านธรรมาภิบาล การดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด สามารถตรวจสอบได้ การต่อต้านการทุจริตอย่างชัดเจน
บริษัทที่ทำ ESG สามารถลดหย่อนภาษีได้ไหม
ในปัจจุบันนี้มีกองทุนเรียกว่า กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในธุรกิจที่ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ หรือ ESG มีการดำเนินงานโดยคำนึงถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล จึงส่งผลดีต่อบริษัทที่มีการทำ ESG ที่มีโอกาสได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนมากขึ้น มีโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว และผู้ที่ซื้อหุ้นในกองทุน ESG สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้