แนวคิดความยั่งยืนเริ่มถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติ และปัญหาสังคมที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจว่า ESG คืออะไร เกิดแนวคิดมาได้อย่างไร ต้องการเสริมสร้างความรู้ควร อบรม ESG ที่ไหนดี
แนวคิด ESG เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ในระยะที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของธุรกิจทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ ตามมา เช่น การเกิดคลื่นความร้อน ฝนตกหนักและอุทกภัยรุนแรง ภาวะแห้งแล้งที่ยาวนานกว่าปกติ ก่อให้เกิดปัญหาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความมั่นคงทางอาหารและน้ำ เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ อัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น การเกิดโรคอุบัติใหม่เพิ่มขึ้น เกิดความเสียหายทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของเมือง ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ภาคธุรกิจซึ่งมีส่วนในการสร้างผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมจึงเริ่มให้ความสำคัญกับการสร้างการเติบโตของธุรกิจควบคู่กับการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม และลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG ก่อให้เกิดผลดีต่อทั้งการดำเนินธุรกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม และยังเป็นเป้าหมายร่วมกันของสหประชาชาติด้วย
ESG หมายถึงอะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง
แนวคิด ESG เป็นแนวคิดที่ธุรกิจทั่วโลกนำมาใช้เป็นแนวทางการบริหารงานองค์กร ถือเป็นเทรนด์ที่องค์กรยุคใหม่ต่างให้ความสนใจ เพื่อนำองค์กรก้าวไปสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและสามารถเติบโตได้ในระยะยาว
ESG คืออะไร
ESG ย่อมาจาก Environmental, Social, Governance เป็นแนวคิดในการดำเนินธุรกิจที่ไม่มุ่งเน้นเพียงแค่รายได้ทางเศรษฐกิจเท่านั้นแต่ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรให้ครอบคลุมทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง
องค์ประกอบของ ESG
ESG เป็นแนวทางการดำเนินงานที่ครอบคลุม 3 มิติดังนี้
Environmental ด้านสิ่งแวดล้อม
เป็นการให้ความสำคัญในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนจากการดำเนินงานขององค์กร โดยสามารถกำหนดรูปแบบการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมได้หลายแนวทางขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ
Social ด้านสังคม
เป็นการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม การดูแลความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของพนักงานรวมไปถึงผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กร การจัดการความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรรวมทั้งชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงาน
Governance ด้านธรรมาภิบาล
มีนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ การดูแลผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ตัวอย่างกิจกรรมและตัวอย่างโครงการ ESG ทำได้อย่างไรบ้าง
ตัวอย่างแนวคิดในการดำเนินโครงการและกิจกรรม ESG ตัวอย่าง ในแต่ละมิติ สามารถทำได้โดย
กิจกรรม ESG ตัวอย่างด้านสิ่งแวดล้อม (Environment: E)
- การปรับปรุงประสิทธิภาพของอุปกรณ์เพื่อลดการใช้พลังงาน เช่น เปลี่ยนจากหลอดไฟปกติเป็นหลอดไฟ LED การเลือกใช้เครื่องปรับอากาศและเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงาน การใช้โซลาร์เซลล์ผลิตพลังงานสะอาดทดแทนโดยเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
- การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ AI มาใช้ เช่น การสร้างอาคาร smart building ที่นำเอาเทคโนโลยีระบบบริหารควบคุมอาคารอัตโนมัติ หรือ Building Automation System (BAS) มาใช้ในการควบคุมระบบต่างๆ ภายในอาคาร เช่น การควบคุมการเปิด-ปิด และปรับเพิ่ม-ลดระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง การควบคุมอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ การควบคุมและตรวจสอบระบบน้ำ ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ลดการใช้แรงงานคน และเป็นการประหยัดพลังงานได้
- การลดการใช้พลาสติกแล้วหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติ สามารถย่อยสลายได้ง่าย เพื่อเป็นการลดขยะพลาสติกลง
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
- การเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการปลูกป่าทดแทน ปลูกต้นไม้บริเวณรอบตัวอาคาร รวมทั้งบริเวณชุมชนรอบข้าง
- การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล โดยการปลูกป่าชายเลนเพื่อเพิ่มพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเล และเพิ่มความแข็งแรงของหน้าดินชายฝั่งทะเล
กิจกรรม ESG ตัวอย่าง ด้านสังคม (Social:S)
- ช่วยส่งเสริมให้ชุมชนมีอาชีพและรายได้ ส่งเสริมให้มีการกระจายรายได้ ด้วยการรับซื้อผลผลิตและวัตถุดิบที่ผลิตจากคนในชุมชนด้วยราคาที่เป็นธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบ
- ให้การส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานในองค์กร (HAPPY WORKPLACE) มีการให้สวัสดิการต่างๆ ตามความเหมาะสม เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล การจัดบรรยากาศที่ทำงานให้เหมาะสมต่อการทำงาน รวมทั้งการสนับสนุนอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
- เพิ่มโอกาสในการพัฒนาตัวเองของพนักงานในองค์กร โดยการจัดการอบรมในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การอบรม ESG หลักสูตร Sustainability
- การจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาสังคมโดยให้พนักงานในองค์กรได้มีส่วนร่วม กิจกรรม esg ตัวอย่างเช่น การมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กยากไร้ การจัดกิจกรรมบริจาคโลหิต การร่วมบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ให้แก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ สนับสนุนอุปกรณ์การเรียนและหนังสือแก่โรงเรียนพื้นที่ห่างไกล การบริจาคเงินสนับสนุนหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับโรงพยาบาลที่ขาดแคลน เป็นต้น
กิจกรรม ESG ตัวอย่าง ด้านธรรมาภิบาล (Governance:G)
การจัดทำนโยบายบรรษัทภิบาลที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน นโยบายไม่รับของขวัญ (No Gift Policy) นโยบายการรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตและการกระทำผิด นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และมีการประกาศและเผยแพร่นโยบายเพื่อสื่อสารให้พนักงานในองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทราบและถือปฏิบัติร่วมกัน รวมทั้งมีการกำกับและติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ทำไมองค์กรต้องให้ความสำคัญในการทำ ESG
ธุรกิจที่มีการวางตำแหน่งด้านการจัดการความยั่งยืนที่ชัดเจน จะส่งผลดีในหลายด้าน เช่น
1. สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน
ในปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่า ESG กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนใช้ประกอบการพิจารณาลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ นักลงทุนให้ความสนใจลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีการดำเนินงานตามกรอบแนวคิดความยั่งยืน ESG เพิ่มมากขึ้น ธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวคิด ESG อย่างเป็นรูปธรรมจึงมีโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยในประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการจัดตั้งเกณฑ์หุ้นยั่งยืน หรือ THSI ขึ้น บริษัทจำกัดที่ได้รับคะแนนผ่านการประเมินทั้ง 3 มิติจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มหุ้นยั่งยืนที่สามารถดึงดูดความสนใจในการลงทุนในกลุ่มนักลงทุนได้
2. ส่งผลต่อการสร้างรายได้และกำไร
การจำหน่ายสินค้าและบริการภายใต้แนวคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยพบว่ากลุ่มผู้บริโภคมักมีความยินดีที่จะซื้อสินค้าและบริการเหล่านี้โดยไม่มีการเทียบราคากับสินค้าแบรนด์อื่นที่ไม่มีการทำ ESG แม้ว่าจะมีราคาเฉลี่ยสูงกว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่วางขายในท้องตลาดก็ตาม เนื่องจากลูกค้ามีความเข้าใจว่าการดำเนินงานตามแนวคิด ESG จะมีต้นทุนทางด้านการบริหารจัดการที่สูงกว่า และยังรู้สึกว่าตนเองได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาสังคมในด้านต่างๆ ผ่านการสนับสนุนโดยการซื้อสินค้า การนำหลักการแนวคิด ESG ไปใช้ในการดำเนินการยังช่วยเพิ่มการเติบโตทางธุรกิจได้ในระยะยาว
3. ช่วยสร้างประโยชน์ให้เกิดต่อสังคม
หากยังไม่มีการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม มีความเสี่ยงสูงที่โลกจะเผชิญกับวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา ไม่เพียงแต่ปัญหาสิ่งแวดล้อมเท่านั้นยังเชื่องโยงถึงสังคมและเศรษฐกิจ จึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตด้วย ดังนั้นการดำเนินธุรกิจตามแนวคิด ESG นอกจากจะเป็นช่วยเสริมสร้างและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ต่อไปให้คนรุ่นหลัง ช่วยแก้ไขปัญหาสังคมในด้านต่างๆ ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถคงอยู่ได้ในระยะยาวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก
องค์กรที่เล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินธุรกิจตามแนวคิด ESG กำลังมองหา ESG training coursesต้องการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการที่ยั่งยืน สามารถเข้ามาปรึกษาเราได้ที่ SOLUTIONS IMPACT เราพร้อมเป็นผู้ช่วยในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงองค์กรของคุณให้ก้าวเข้าสู่ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยหลักสูตรอบรม ESG ที่อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระที่ทันสมัย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรอบรม ESG 2567โดยทีมวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการความยั่งยืน และมีประสบการณ์ในการอบรมมากกว่า 12 ปี สามารถเข้ามาปรึกษาเราก่อนได้ที่ SOLUTIONS IMPACT หรือ LINE
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ อบรม ESG
แนวคิด ESG เกิดจากอะไร
แนวคิด ESG เกิดจากการที่ภาคธุรกิจต่างๆ เริ่มตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อทั้งคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม และมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อคนรุ่นหลังในอนาคต จึงเกิดแนวคิด ESG ขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจโดยไม่มุ่งหวังเพียงแค่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม สังคม ภายใต้หลักธรรมาภิบาล ควบคู่กันไปด้วย
แนวคิด ESG ประกอบด้วยมิติใดบ้าง
ประกอบด้วย 3 มิติ ได้แก่
มิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environment: E)
มิติด้านสังคม (Social: S)
มิติด้านธรรมาภิบาล (Governance:G)
กิจกรรมตัวอย่าง ESG
กิจกรรมตัวอย่างการทำ ESG เช่น
การใช้โซลาร์เซลล์เพื่อสร้างพลังงานสะอาดทดแทน โดยการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า
การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อการประหยัดพลังงาน
การเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการปลูกป่าทดแทน
การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้เอง
การเพิ่มที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลโดยการปลูกป่าชายเลน
การเลือกใช้วัตถุดิบที่ผลิตโดยคนในชุมชนเพื่อช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้สังคม